บริการสืบค้น

Custom Search

PostHeaderIcon วัดสุวรรณดาราราม

อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง เหนือบริเวณป้อมเพชร สามารถใช้เส้นทางเดียวกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษม แต่พอถึงสามแยกให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นป้ายทางเข้าวัดอยู่ทางด้านขวามือ  วัดนี้เดิมชื่อว่า “วัดทอง” เป็นวัดที่พระบรมมหาชนกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างไว้ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ จึงโปรดเกล้าฯให้สถาปนาวัดทองขึ้นใหม่และพระราชนามว่า“วัดสุวรรณดาราราม” เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระบรมชนกนาถและพระบรมราชชนนี ตามพระนามเดิมของทั้งสองพระองค์ คือ “ทองดี” และ “ดาวเรือง”
วัดแห่งนี้มีสิ่งต่างๆ ที่น่าชมไม่ว่าจะเป็นพระอุโบสถซึ่งยังคงรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ ทำส่วนฐานโค้งอ่อนลงตรงกลางคล้ายปากเรือสำเภา หน้าบันอุโบสถสลักลายเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเทพชุมนุมที่ผนังอุโบสถตอนบน ตอนล่างเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก เตมีย์ชาดกและสุวรรณสามชาดก ผนังด้านหน้าพระประธานเขียนภาพมารวิชัย มีแม่พระธรณีบีบมวยผมอยู่ตรงกลาง ส่วนพระประธานในพระอุโบสถรัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้จำลองขยายส่วนจากพระแก้วมรกต นอกจากนั้นภายในพระวิหารมีลักษณะรูปแบบฐานเป็นเส้นตรง ไม่ใช้ฐานอ่อนโค้งตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา บัวหัวเสามีลักษณะเป็นบัวกลีบยาวหรือบัวแวง พระวิหารสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 ภายในพระวิหารมีภาพเขียนสีในสมัยรัชกาลที่ 7 แสดงพระราชประวัติของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงกระทำยุทธหัตถี นับเป็นจิตรกรรมฝาผนังที่มีฝีมือยอดเยี่ยมงดงามมาก  กรมศิลปากรได้ถ่ายแบบภาพเขียนนี้ไปไว้ที่อนุสรณ์ดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี
บริเวณหน้าพระอุโบสถจะเห็น แท่นพระศรีมหาโพธิ์ ลักษณะเป็นแท่นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย ประดิษฐานต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำหน่อโพธิ์มาจากประเทศอินเดีย ไม่ไกลกันนั้นมี หอระฆัง ลักษณะแบบสถาปัตยกรรมตะวันตก ก่ออิฐถือปูน มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมสองชั้น ชั้นล่างเจาะประตูเป็นรูปโค้งแหลม  ชั้นบนเป็นส่วนของหอระฆัง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พร้อมกับการปฏิสังขรณ์วัดครั้งใหญ่



วัดสุวรรณดารารามราชวรวิหาร อยู่ในเขตพระนครด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมือง
เป็นวัดที่เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจมาดูภาพจิตรกรรมที่ฝาผนังในวิหาร ซึ่งเป็นภาพเขียนสีน้ำมัน
ฝีมือของ มหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตร เป็นภาพ เรื่องพระราชพงศาวดาร
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เป็นภาพเขียนที่มีความเหมือนจริงมีใบหน้า ร่างกายกล้ามเนื้อ
และสัดส่วนต่างตามสรีระของบุคคลจริง อันมีอิทธิพลมาจากตะวันตกและได้นำมาประยุกต์ใช้
ในจิตรกรรมไทย ซึ่งเชื่อว่าเป็นจิตรกรรมสีน้ำมันบนฝาผนังปูนแห่งแรกในประเทศไทย

ประวัติ
วัดสุวรรณดาราราม ตั้งอยู่ภายในกำแพงกรุงศรีอยุธยาทางทิศใต้ ริมป้อม เพชรตำบลหอรัตไชย
อำเภอพระนครศรีอยุธยา บิดาของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้สร้าง “วัดทอง”
ขึ้นใกล้กับบริเวณนิวาสถานเดิม

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2310 พม่าได้ยกกองทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาแตก วัดทองก็ถูกพม่าทำลาย
กลายเป็นวัดร้างมานานถึง 18 ปี

ครั้นใน พ.ศ.2325 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษก
และสร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานีแล้ว ต่อมาใน พ.ศ.2328 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ
ให้ปฏิสังขรณ์วัดทองที่ถูกทิ้งร้างมาตั้งแต่กรุงแตกใหม่ทั้งอาราม ในการปฏิสังขรณ์
และการก่อสร้างครั้งนี้ กรมพระราชวังบวรมหาสุร สิงหนาท พระอนุชาได้ทรงร่วมปฏิสังขรณ์
และก่อสร้างพระอุโบสถ พระเจดีย์ และหมู่กุฏิทั้งหมดด้วย เมื่อการบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จ
พระองค์ได้พระราชทานนามใหม่ตามชื่อของพระราชบิดา(ทองดี)และพระราชมารดา(ดาวเรือง)
ว่า “วัดสุวรรณดาราราม”

เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จสวรรคต พระมหากษัตริย์
รัชกาลต่อมาแห่งราชวงค์จักรี ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดนี้ต่อมาเป็นลำดับ มีการก่อสร้างพระวิหาร
เจดีย์ กำแพงแก้ว และปูชนียสถานอื่นๆภายในพระอารามแห่งนี้ นับได้ว่าวัดสุวรรณดารา
เป็นพระอารามแห่งราชวงศ์จักรีโดยแท้ และเป็นวัดที่สวยงามมีสง่าน่าชมยิ่งนัก

จุดหน้าสนใจ

พระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่นี้ สิ่งที่สวยงามสะดุดตาก็คือ หลังคาพระอุโบสถประดับช่อฟ้า
ใบระกา หางหงส์ หน้าบันทำด้วยไม้สัก แกะสลักลายกนกเป็นรูปนารายณ์ทรงครุฑ ปิดทอง
ประดับกระจกตลอด เฉพาะคันทวยที่ประดับรับเชิงชายคาพระอุโบสถทุกตัว ได้แกะสลักเป็นราย
นกพันรอบทวย ลวดลายอ่อนช้อยงดงามยิ่งนักรูปทรงพระอุโบสถภายนอกเป็นรูปทรงเรือสำเภา
ซึ่งนับเป็นศิลปะสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ที่ยังเหลือไว้ให้ได้ศึกษา

ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐานพระประธานซึ่งจะลองขยายส่วนจาก
พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรพระแก้วมรกต (พระแก้วมรกต) วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
รูปทรงงดงาม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบเหนือพระรัตน
บัลลังก์ที่ประดับกระจกสีด้านซ้าย และขวาเป้นที่ประดิษฐานนพดลมหาเศวตรฉัตร
เพดานพระอุโบสถเป็นไม้จำหลักลายดวงดาราบนพื้นสีแดง ลงรักปิดทองประดับกระจก
ตรงกลางเป็นดาวประธาน ล้อมรอบด้วยดาวบริวาร 12 ดวง ภายในกรอบย่อมุมไม้สิบสอง

วิหารมีลักษณะเป็นอาคารเครื่องก่อ ด้านหลังมีเจดีย์ใหญ่ โครงสร้างพระวิหารเหมือนกับอุโบสถ
แต่ไม่มีคันทวย และหน้าบันเป็นรูปช้างเอราวัณยืนแท่น ทูนแว่นฟ้า บนพานมีฉัตร 5 ชั้น
ภายในพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปโลหะลงรักปิดทอง มีเรือนแก้วแบบเรือนแก้ว
พระพุทธชินราช แต่เป็นจำหลักเขียนสีปิดทอง

สิ่งสำคัญภายในวัดซึ่งถือว่ามีคุณค่าควรแก่การดูแลรักษาไว้เป็นอย่างดี นั้นก็คือ
ภาพจิตรกรรมฝาฝนังในพระอุโบสถ และพระวิหาร โดยเฉพาะภาพจิตรกรรมในพระอุโบสถ
ซึ่งมีอายุกว่า 200 ปี โดยได้รับความอุปถัมภ์จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตอนต้น
รัตนโกสินทร์ ซึ่งเขียนเรื่องพุทธประวัติ ไตรภูมิ ทศชาติชาดก การลำดับภาพ
คือฝาผนังด้านข้างแบ่งเป็น 2 ส่วน คือส่วนบนเหนือขอบหน้าต่าง เขียนภาพเทพชุมนุม 2 ชั้น
ชั้นละ 16 องค์ ชั้นบนเป็นรูปเทพ ชั้นล่างเป็นรูปเทพและยักษ์ซึ่งเทพชั้นนี้ถือเป็นเทพชั้นต่ำสุด
เทพทุกพระองค์พนมมือหันหน้าไปทางองค์พระประธาน

ภาพส่วนล่าง ที่ห้องภาพระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพเรื่องทศชาติชาดก
ส่วนฝาผนังด้านหน้าเป็นภาพพุทธประวัติ ตอนมารวิชัย มีขนาดใหญ่เต็มผนัง
และด้านหลังเป็นภาพเรื่องไตรภูมิ


ภาพเขียนเรื่องเกี่ยวกับพระราชพงศาวดารสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แสดงเรื่องตั้งแต่เมื่อ
เสียกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2112 ตั้งแต่ตอนที่พระนเรศวรไปเป็นองค์จำนำอยู่ที่เมืองหงสาวดี
ประเทศพม่า มีภาพตอนพระองค์ทรงเล่นตีไก่กับมังสามเกลียด ภาพฝาผนังหนังด้านหน้า
เป็นภาพใหญ่เต็มฝาผนังแสดงเรื่องตอน สมเด็จพระนเรศวรทรงกระทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราช

การเดินทาง
หากเดินทางมาจากรุงเทพโดยใช้ถนนสายเอเชีย(ทางหลวงหมายเลข 32)เลี้ยวซ้าย
ตรงสี่แยกเข้าอยุธยา พอข้ามสะพานนเรศวร ให้เลี้ยวซ้ายเลย จะเห็นป้ายทางเข้าวัด